:: Detail

ผลของการพรางแสงในโรงเรือนและการไม่พรางแสงในสภาพธรรมชาติ ต่อการเจริญเติบโตของผักโขมแดง (Amaranthus tricolor L.)


ธนวัฒน์ บัววัน, สุธิมา พลศักดิ์, ธนภัทร เกสรราช, สมาพร เรืองสังข์

, นักศึกษา หลักสูตรเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

ไทย
ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2567

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของผักโขมแดงที่ปลูกในโรงเรือนเมื่อมีการพรางแสงและปลูกในสภาพธรรมชาติไม่พรางแสง โดยปลูกเมล็ดผักโขมแดงในกระถางด้วยวัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของดิน แกลบดำ มูลวัว มูลไก่ ขุยมะพร้าวและแกลบเหลือง หมักรวมกันในอัตราส่วน 7:2:1:4:2:3 ประกอบด้วย 2 กรรมวิธีคือ 1) พรางแสงด้วยซาแรนสีดำ 50% ในโรงเรือน และ 2) ไม่พรางแสง ภายใต้สภาพธรรมชาติ รดน้ำเช้าเย็น เป็นเวลา 4 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว ผลการทดลองพบว่า ผักโขมแดงที่ปลูกในกรรมวิธีที่ 2 ภายใต้สภาวะธรรมชาติซึ่งไม่มีการพรางแสง มีการเจริญเติบโตดีกว่าผักโขมแดงที่ปลูกในกรรมวิธีที่ 1 โดยมีความสูงต้น เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และจำนวนใบมากกว่าผักโขมแดงที่ปลูกโดยมีการพรางแสงของกรรมวิธีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) แต่การพรางแสงไม่ส่งผลต่อพื้นที่ใบ และค่าสี R G B ของใบ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผักโขมแดงที่ปลูกโดยไม่มีการพรางแสงมีลำต้นสูง 19.70 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5.78 เซนติเมตร น้ำหนักสด 21.86 กรัม น้ำหนักแห้ง 2.56 กรัม และจำนวนใบ 10.75 ใบ มีค่าสี R G B เท่ากับ 109.20, 65.00, 71.65 ตามลำดับ ทำให้ใบและลำต้นมีลักษณะภายนอกสีแดงเข้มกว่าผักโขมแดงที่ปลูกในกรรมวิธีที่ 1

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เอกสารแนบ
ชื่อแฟ้มข้อมูล
ขนาดแฟ้มข้อมูล
ประเภทเอกสาร
ดาวน์โหลด
AFJ-r2567-1-002270.45 KBapplication/pdf
AFJ-Vol3-No-1175.63 KBapplication/pdf.....

Areesrisom, P., Toakaenchan, N., Kawaree, R., Thonnalak, T. and Areesrisom, K. (2018). Effects of shading during cultivation on chlorophyll and 2- acetyl-1-pyrroline contents of Pandanus amaryllifolius Roxb. Leaves. Journal of Agriculture 34(3): 353-362.

Benjawan, L., Promdang, S., Sukkhaeng, S. and Doung-ngern, U. (2019). Growth characteristics, protein, fiber and chlorophyll contents of eight amaranth cultivars. Agricultural Science and Management Journal 2(3): 84-93.

Detpiratmongkol, S. (2018). Effects of shading on growth and yield of barbed grass (Centotheca lappacea (L.) Desv.). Khon Kaen Agriculture 46 (supplement1): 501-507.

Jahan, F., Bhuiyan, Md. N. H., Islam, Md. J., Ahmed, S., Hasan, Md. S., Bashera, M. A., Waliullah, Md., Chowdhury, A. N., Islam, Md. B., Saha, B. K., and Moulick, S. P.  (2022). Amaranthus tricolor (red amaranth), an indigenous source of nutrients, minerals, amino acids, phytochemicals, and assessment of its antibacterial activity. Journal of Agriculture and Food Research, 10 (100419), 1-7.

Kaewthongrach, R. and Yingjajaval, S. (2009). Leaf photosynthetic potential of Amaranthus tricolor. Agricultural Science Journal 40(3): 401-410.

Khandaker, L., Ali, Md. B. and Oba, S. (2008). Total polyphenol and antioxidant activity of red amaranth (Amaranthus tricolor L.) as affected by different sunlight level. Journal of the Japanese Society for Horticultural Science 77(4): 395-401.

Sabri, S. M., Lob, S. and Ibrahim, N. F. (2020). Effect of photo-selective netting on growth development of green amaranth (Amaranthus viridis L.). Universiti Malaysia Terengganu Journal of Undergrauate Research 2(3 ):67-72.

Suthon, W. (2019). Effect of shading on growth, yield and curcumin content of Zingiber montanum [Koenig] Link ex Dietr. Srinakharinwirot University Journal of Science and Technology 11(22): 146-156.


    ISSN : 2821-9228 ( Print )
    ISSN : 2821-9244 ( Online )

    วารสาร

    1 มิถุนายน 2567

    94 ครั้ง

    8 ครั้ง

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน กม. 48 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
Email: afj@vru.ac.th    Line OA : https://lin.ee/nrN2wSH

   © COPYRIGHT Faculty of Agricultural Technology    

จำนวนผู้เข้าชม
วันนี้ : 188
ทั้งหมด : 62,983