:: Detail

ผลของการเตรียมความพร้อมเมล็ดพันธ์มะเขือเทศด้วย Bacillus subtilis ต่อความงอกของเมล็ดและการรอดชีวิตของต้นกล้าในโรงเรือนที่เคยมีการระบาดของโรคเหี่ยวเขียว


ปัทมาวดี คุณวัลลี, เทวี มณีรัตน์, กนกวัน ปลอดจินดา

สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ไทย
ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2566

การปลูกมะเขือเทศมักประสบปัญหาจากโรคเหี่ยวเขียว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum จัดเป็นเชื้อโรคในดินที่สำคัญ Bacillus subtilis เป็นเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่สามารถควบคุมโรคเหี่ยวเขียวได้ การเตรียมความพร้อมเมล็ดร่วมกับเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (Bio-priming) สามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์และจากดินได้ ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศด้วย Bacillus subtilis ต่อความงอกของเมล็ดและการรอดชีวิตของต้นกล้าในโรงเรือนที่มีการระบาดของโรคเหี่ยวเขียว วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design จำนวน 4 ซ้ำ พบว่า การเตรียมความพร้อมเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศด้วย B. subtilis ทำให้ความงอกมาตรฐาน (98.00%-100.00%) ความเร็วเฉลี่ยในการงอก 4.08-4.18 วัน และความงอกในสภาพแปลง 96.00%-97.00% ไม่แตกต่างกันทางสถิติ เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของต้นกล้ามะเขือเทศภายหลังการย้ายปลูกในสภาพพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคเหี่ยวเขียวในสัปดาห์ที่ 2 พบว่า เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของต้นกล้าไม่แตกต่างกันทางสถิติ สัปดาห์ที่ 4 และ 6 พบว่า เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของต้นกล้าลดลง ยกเว้น T3 (100.00%) และ T4 (100.00%) มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าการเตรียมความพร้อมของเมล็ดมะเขือเทศด้วยน้ำ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และ B. subtilis เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทำให้ต้นกล้ามะเขือเทศสามารถเจริญเติบโตในในโรงเรือนที่มีการระบาดของโรคเหี่ยวเขียว อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้เป็นเพียงการทดสอบเบื้องต้นสำหรับทดสอบความงอกและการรอดชีวิตเท่านั้น ยังมีความจำเป็นต้องศึกษาการเตรียมความพร้อมของเมล็ดเพื่อความสามารถในการควบคุมโรคพืช

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เอกสารแนบ
ชื่อแฟ้มข้อมูล
ขนาดแฟ้มข้อมูล
ประเภทเอกสาร
ดาวน์โหลด
AFJ-r2566-1_013232.30 KBapplication/pdf
AFJ-Vol2-No-1175.63 KBapplication/pdf.....

Anuratha C.S. and S.S. Gnanamanickam. 1990. Biological control of bacterial wilt cause by Pseudomonas solanacearum in India with antagonistic bacteria. Plant and Soil 124:109-116.

Bewley, J. D. and M. Black. 1985. Seeds Physiology of Development and Germination. Plenum Press, New York. 392 p.

Bewley, J.D. and Black, M. 1982. Physiology and Biochemistry of Seed in Relation to Germination .Vol. II. Dormancy and Environmental Control, Springer-Verlay, New York.

Bewley, J.D. and M. Black. 1982. Physiology and bio-chemistry of seeds in relation to germination. 2nd edition, Springer-Verlag press, New York, 365.

Callan,  N.W., Mathre, D. and Miller, J.B. 1990. Bio-priming seed treatment for biological control of Pythium  ultimumpreemergence damping-off in sh-2 sweet corn. Plant Disease Journal 74: 368-372.

El-Mohamedy, R.S.R. and M.M.H. Abd El-Baky. 2008. Evaluation of different types of seed treatment on control of root rot disease, improvement growth and yield quality of Pea plant in Nobaria province. Res. J. Agric. & Biol. Sci. 4(6):611-622.

Fakthongphan, J. 2016. Seed priming for unfavorable condition tolerance. Thai Agricultural Research Journal. 34: 196 - 210. (in Thai)

ISTA. 2018. International Rules for Seed Testing, Edition 2018. International Seed Testing Association, Bassersdorf.

Ketsakul, S., Austin, J., Siriyan, R., Rukkaphan, A., Sirisuwanma, P., KaewSida, W., et al. 2015. Tomato Production Technology. Department of Agriculture. (in Thai)

Kaya, M.D., G. Okcu, M. Atak, Y. Cikili and O. Kolsarici. 2006. Seed treatments to overcome salt and drought stress during germination in sunflower (Helianthus annuus L.). Eur. J. Agron. 24: 291–295.

Leksomboon, C. and Jumpee, N. 2007. Effect of antagonistic bacterium Bacillus subtilis on the growth of sugarcane. In  The 8th National Plant Protection Conference, Amarin lagoon hotel, Phitsanulok, 20-22 November 2007. 296 – 302. (in Thai)

Mahmood, A., Turgay, O.C., Farooq, M. and Hayat, R. 2016. Seed biopriming with plant growth promoting rhizobacteria: a review. FEMS Microbiology Ecology. 92(8): 1-14. fiw112.

Mathre D.E., N.W. Callan, R.H. Johnston, J.B. Miller and A. Schwend. 1994. Factors influencing the control of Pythium ultimum-induces seed decay by seed treatment with Pseudomonas aureofaciens AB254. Crop Protection 13(4):301-307.

Soontarasing, S. 1987. Vegetable diseases and control. Department of plant pathology, Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)


    ISSN : 2821-9228 ( Print )
    ISSN : 2821-9244 ( Online )

    วารสาร

    1 มิถุนายน 2566

    56 ครั้ง

    28 ครั้ง

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน กม. 48 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
Email: afj@vru.ac.th    Line OA : https://lin.ee/nrN2wSH

   © COPYRIGHT Faculty of Agricultural Technology    

จำนวนผู้เข้าชม
วันนี้ : 34
ทั้งหมด : 38,336