:: Detail

การใช้ประโยชน์ของเหลือจากกระบวนการผลิตหนอนมอดรำข้าวสาลี Tenebrio molitor L. (Coleoptera: Tenebrionidae) สู่ความเป็นไปได้ในการผลิตดอกดาวเรืองอินทรีย์


เทวี มณีรัตน์, ปัทมาวดี คุณวัลลี

สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ไทย
ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2566

หนอนมอดรำข้าวสาลี หรือหนอนนก Tenebrio molitor L. (Coleoptera: Tenebrionidae) เป็นแมลงเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ ในกระบวนการเลี้ยงแมลงของเสียที่เกิดขึ้นคือมูลของหนอนมอดรำข้าวสาลี ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์และเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชจากมูลหนอนมอดรำข้าวสาลี และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมูลหนอนมอดรำข้าวสาลีมาใช้ประโยชน์สำหรับเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในกระบวนการผลิตดอกดาวเรือง จากการวิเคราะห์มูลหนอนมอดรำข้าวสาลี พบธาตุอาหารพืชทั้ง ธาตุหลักไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) เท่ากับ ร้อยละ 4.24 4.86 และ 2.27 อินทรียวัตถุ (OM) เท่ากับ ร้อยละ 57.93 อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) เท่ากับ 9:1 ค่าการนำไฟฟ้า (EC) เท่ากับ 7.06 และ pH เท่ากับ 5.71 จากการศึกษาเปรียบเทียบการปลูกดาวเรือง 4 กรรมวิธี การใช้ปุ๋ยเคมี (T1) มูลหนอนมอดรำข้าวสาลี (T2) มูลไก่ (T3) และไม่ใส่ปุ๋ยเคมี (T4) พบว่า ดาวเรืองที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยจากมูลมอดรำข้าวสาลี สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตดอกดาวเรืองครั้งแรก ในวันที่ 62 หลังการปลูก และ 66 วัน ค่าเฉลี่ยจำนวนดอกของปุ๋ยเคมี (T1) มูลหนอนมอดรำข้าวสาลี (T2) มูลไก่ (T3) และ ชุดควบคุม/ไม่ใส่ปุ๋ย (T4) เท่ากับ 10.333.57 10.171.74 6.731.72 และ 2.132.37 ดอก/ต้น น้ำหนักสดดอก เท่ากับ 9.373.64 8.112.43 7.481.81 และ 4.751.05 กรัม/ดอก และ เส้นผ่านศูนย์กลางดอก เท่ากับ 6.560.91 6.110.54 5.830.50 และ 4.770.42 เซนติเมตร ตามลำดับ และการใช้มูลหนอนมอดรำข้าวสาลี สำหรับเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกดอกดาวเรื่องให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ปุ๋ยเคมี (P≥0.05)

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เอกสารแนบ
ชื่อแฟ้มข้อมูล
ขนาดแฟ้มข้อมูล
ประเภทเอกสาร
ดาวน์โหลด
AFJ-r2566-1_014173.71 KBapplication/pdf
AFJ-Vol2-No-1175.63 KBapplication/pdf.....

Chaovapasee, K. 2013. Extimation of genetic parameters and breeding values for economic traits in mealworm (Tenebrio molitor L.). Princess of Naradhivas University Journal, 5(1): 61-68. (in Thai)

Houben, D., G. Daoulas, M. Faucon and A. Dulaurent. 2020. Potential use of mealworm frass as a fertilizer: impact on crop growth and soil properties. Scientific Reports, 10: 4659. 9 p.

Kunwanlee, K. and Maneerat, T. 2021. Comparison between mealworm (Tenebrio molitor L.) waste and chemical fertilizer on the growth and yield of selected-PSU green pepper. VRU Research and Development Journal Science and Technology, 16(1): 47-56. (in Thai)

Nattakit, P., N. Thanakornvises, N. Luengprapha, K. Boonwitian, and N. Srisuvor. 2021. Sensory characteristics of soybean breads and marigold (Tagestes erecta L.) breads. Research Journal Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 20(1): 2651-2289. (in Thai)

Nogalska, A., S. W. Przemieniecki, S. J. Krzebietke, D. Zaluski, A. Kosewska, M. Skwierawska and S. Sienkiewicz. 2013. The effect of mealworm frass on the chemical and microbiological properties of horticultural peat in an incubation experiment. International Journal of Environmental Research and Public Health 20, 21. https://doi.org/10.3390/ijerph20010021.

 

Pibumrung, P. 2021. Effect of cricket frass and mealworm waste compost pellet applications on soil properties and yield of Pathum Thani 1 rice. Journal of Agricultural Research & Extension 39(1): 52-64.

Poveda J., A. Jimenez-Gomez, Z. Saati-Santamaria, R. Usategui-Martin R. Rivas and P. Garcia-Fraile. 2019. Mealworm frass as a potential biofertilizer and abiotic stress tolerance-inductor in plants. Applied Soil Ecology 142: 110-122.

Trade Policy and Strategy Office. 2022. Insect novel food: Value added agricultural products. Source: http://www.tpso.moc.go.th/th/node/11829.


    ISSN : 2821-9228 ( Print )
    ISSN : 2821-9244 ( Online )

    วารสาร

    1 มิถุนายน 2566

    59 ครั้ง

    22 ครั้ง

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน กม. 48 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
Email: afj@vru.ac.th    Line OA : https://lin.ee/nrN2wSH

   © COPYRIGHT Faculty of Agricultural Technology    

จำนวนผู้เข้าชม
วันนี้ : 28
ทั้งหมด : 38,328