:: Detail

การใช้ประโยชน์จากหญ้าเนเปียร์และเศษผักสดในรูปน้ำหมักชีวภาพ:ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดและค่าความเป็นกรดด่าง


กฤตเมธ ตะนัยศรี, กรรณิกา อัมพุช

หลักสูตรเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ไทย
ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2566

หญ้าเนเปียร์เป็นหญ้าที่ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง พบได้ทั่วไปจากการใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ในรูปแบบต่างๆ ตามระยะเวลาการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม แต่หากในอายุหรือส่วนประกอบของต้นที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อาจกลายเป็นเศษหญ้าเหลือทิ้งเช่นเดียวกับเศษผักสดจากตลาดที่มีปริมาณมาก การหาแนวทางการจัดการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจแบบบีซีจี หนึ่งในนั้นคือการนำมาทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเบื้องต้นของน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักหญ้าเนเปียร์และเศษผักสด ซึ่งได้แก่ ปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด และ ค่าความเป็นกรดด่างที่อายุการหมัก 2 ระยะ โดยวางแผนการทดลองแบบ independent t-test แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ซ้ำ กลุ่มที่ 1 หมักนาน 21 วัน กลุ่มที่ 2 หมักนาน 28 วัน จากผลการศึกษา พบว่า น้ำหมักทั้งสองกลุ่ม มีปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดแตกต่างกัน คือ 22.5×106 และ 5.76×106 cfu/g ตามลำดับ (P<0.05) ในขณะที่ความเป็นกรดด่างไม่แตกต่างกัน คือ 4.11 และ 4.42 ตามลำดับ (P>0.05) ซึ่งเป็นช่วงใกล้เคียงกับค่าความเป็นกรดด่างของน้ำหมักชีวภาพทั่วไปที่ใช้กันในปัจจุบัน สุดท้ายการนำไปขยายผลโดยการทดสอบประสิทธิภาพทั้งทางเคมีและกายภาพของน้ำหมักชีวภาพ จึงควรดำเนินการต่อเพื่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น และน่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากของเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด มีการใช้ซ้ำ และเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ในภาคการเกษตรต่อไป

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เอกสารแนบ
ชื่อแฟ้มข้อมูล
ขนาดแฟ้มข้อมูล
ประเภทเอกสาร
ดาวน์โหลด
AFJ-r2566-1_015185.17 KBapplication/pdf
AFJ-Vol2-No-1175.63 KBapplication/pdf.....

Buayam, S. 2011. Principles of Efficient Fertilizer Production. 2nd Edition. Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Kongjak, P. and K. Umpuch. 2019. Silage quality between purple napier grass and pakchong 1 napier grass added with fresh leucaena leaves. In The Proceedings of the 7th Academic Science and Technology Conference 2019, Rangsit University, Pathumthani, Thailand, 7 June 2019. 322-326. (in Thai)

Kromrattanaporn, P. 2010. Making Bio-extract Water and Herb. 1st Edition. Faculty of Veterinary, Khon Kaen University. (in Thai)

Nobamornbodee, A., Isaranurak, S., Chompunich, S., Likkananont, P., Kanlong, N., Charoensathaporn, R., and Bhromsattha, R. 2004. Science Data: Bio-extract water (Part 1). Department of Agriculture. 1st Edition., Quick Print Offset, Bangkok. (in Thai) NXPO. 2023. BCG Economy. The Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council. https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/# 30 April 2023.

Pornpisuthimas, S., Limchuwong, S., Laloknam, S., and Laohakoat, T. 2009. Effects of Bio-Fermentation on The Growth of Fabaceae Plants. 4th Edition. Neon Book Media, Bangkok. (in Thai)

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. 2(1): 36-42 42 | AFJ

(2566)

Sarnrakkit, S. 1999. Bio-extract Fertilizer. Thailand Institute of Scientific and Technological Research. (in Thai)

Sutthitham, W., Phosri, P., and Washirapattama, N. 2004. Effects of bio-extract water on growth and yield of fresh bean pods in hydroponics system. Faculty of Science and Technology, Thammasat University. (in Thai)

Umpuch, K. 2021. New developments in forage crops production in Thailand. 40th Malaysian Society of Animal Production Annual Conference “Livestock industries surviving the COVID-19 pandemic”. 3rd – 4th August 2021. 50-58. Online Conference.

Umpuch, K., K. Kokkhuntod, P. Chuchuy, P. Pangsri and P. Pangsri. 2019. The study of chemical components and quality of microorganisms in napier grass silage at different ensiling periods. In The Proceedings of the 13th National Conference of Rambhai Barni Research, Chanthaburi, Thailand, 19 December 2019. 631-637. (in Thai)


    ISSN : 2821-9228 ( Print )
    ISSN : 2821-9244 ( Online )

    วารสาร

    1 มิถุนายน 2566

    44 ครั้ง

    17 ครั้ง

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน กม. 48 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
Email: afj@vru.ac.th    Line OA : https://lin.ee/nrN2wSH

   © COPYRIGHT Faculty of Agricultural Technology    

จำนวนผู้เข้าชม
วันนี้ : 29
ทั้งหมด : 38,331