:: Detail

ผลของเอนโดไฟติกแบคทีเรียต่อการเจริญเติบโตของต้นห้อม


ณัฐพร จันทร์ฉาย, อัญศญา บุญประจวบ, รัฐพงศ์ เดชพรม

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร , มหาวิทยาลัยแม่โจ้–แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ 54140

ไทย
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2565

เห็ดเอนโดไฟติกแบคทีเรียเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในระบบนิเวศด้วยความสามารถในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช งานวิจัยนี้ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกและจำแนกเชื้อแบคทีเรียจากรากของต้นห้อมซึ่งเป็นพืชให้สีครามในพื้นที่จังหวัดแพร่ จำนวน 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Strobilanthes cusia, Baphicacanthus cusia voucher และ Strobilanthes auriculata voucher ผลจากการศึกษาสามารถคัดแยกเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งหมด 4 ไอโซเลท แต่พบเพียง 3 ไอโซเลท ที่มีคุณสมบัติเป็นเอนโดไฟติกแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ไอโซเลท Sc–WH01 ซึ่งมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน สังเคราะห์สาร IAA และละลายฟอสเฟต ที่สูงที่สุด จากนั้นทำการระบุสายพันธุ์ของเอนโดไฟติกแบคทีเรีย ไอโซเลท Sc–WH01 ด้วยวิธีการเปรียบเทียบลำดับเบสของยีน 16S rRNA ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล พบว่ามีความใกล้เคียงกับ Pseudoxanthomonas spadix มากที่สุดถึง 98 เปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาผลของเอนโดไฟติกแบคทีเรีย ไอโซเลท Sc–WH01 ต่อการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อก่อโรคในพืช โดยสามารถยับยั้งเชื้อ Rhizoctonia solani และ Sclerotium rolfsii ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุในการก่อโรครากเน่าโคนเน่า โดยประเมินจากความสามารถในการสร้างรัศมีวงใสการต้านทานเชื้อ เท่ากับ 0.53 และ 0.45 เซนติเมตร ตามลำดับ และผลต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของต้นห้อม พบว่าการปลูกต้นห้อมสายพันธุ์ S. cusia, B. cusia voucher และ S. auriculata voucher ร่วมกับเอนโดไฟติกแบคทีเรีย ไอโซเลท Sc–WH01 ปริมาณ 60 CFU/ml เป็นระยะเวลา 80 วัน สามารถส่งเสริมประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของต้นห้อมได้ดีที่สุด ทั้งในด้านความสูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย เท่ากับ 3.00, 3.30 และ 1.20 เซนติเมตร ตามลำดับ ในด้านความยากรากเพิ่มขึ้นเฉลี่ย เท่ากับ 2.60, 3.00 และ 2.50 เซนติเมตร ตามลำดับ และโดยเฉพาะในด้านจำนวนใบเพิ่มขึ้นเฉลี่ย เท่ากับ 76.60, 14.00 และ 22.00 ใบ ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แสดงให้เห็นว่าเอนโดไฟติกแบคทีเรียสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นห้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ: เอนโดไฟติกแบคทีเรีย; ต้นห้อม; การเจริญเติบโต

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เอกสารแนบ
ชื่อแฟ้มข้อมูล
ขนาดแฟ้มข้อมูล
ประเภทเอกสาร
ดาวน์โหลด
AFJ-r2565-2-003349.84 KBapplication/pdf
AFJ-Vol1-No-22.40 MBapplication/pdf.....

Ahmad, F., I. Ahma and M.S. Khan. 2006. Screening of free-living rhizospheric bacteria for their multiple plant growth promoting activities. Microbiol Research. 163 – (2): 173 – 181.

Andreolli, M., L. Silvia, Z. Giacomo, A. Elisa and V. Giovanni. 2016. Diversity of bacterial endophytes in 3 and 15 year–old grapevines of Vitis vinifera cv. Corvina and their potential for plant growth promotion and phytopathogen control. Microbial Research. 183: 42 – 52.

Chanchay, N. 2021a. Endophytic bacteria (Terriglobus saanensis MJUP06) on germination of Phak Wan Pa (Melientha suavis Pierre.). Sci. Tech. Nakhon Sawan Raj. Uni. J. 13(17): 1 – 11.

Chanchay, N. 2021b. Hom’s Phrae: The wisdom and innovation for sustainable developing. 1st ed. Smart Coating and Service Co., Ltd., Chiangmai. (in Thai)

Chebotar, V.K., N.V. Malfanova, A.V. Shcherbakov, G.A. Ahtemova, A.Y. Borisov, B. Lugtenberg and I.A. Tikhonovich. 2015. Endophytic bacteria in microbial preparations that improve plant development. Biochemistry and Microbiology. 51: 271 – 277.

Dilfuza, E., J. W. Stephan, V.S. Vyacheslav, H. Abeer and F.A. Elsayed. 2017. Endophytic bacteria improve plant growth, symbiotic performance of chickpea (Cicer arietinum L.) and induce suppression of root rot caused by Fusarium solani under salt stress. Frontiers in Microbiology. 8: 1887.

Huda, N., T. Rabia, B. Javaria, A. Iftikhar and R. Yasir. 2022. Arsenic–Resistant Plant Growth Promoting Pseudoxanthomonas Mexicana S254 and Stenotrophomonas maltophilia S255 Isolated from Agriculture Soil Contaminated by Industrial Effluent. Sustainability. 10697.

Jumpathong, J. and K. Masin. 2018. Screening for Biological Activities of Bacteria Isolated from Agricultural Soil in Central Area. Science and Technology Nakhon Sawan Rajabhat University Journal, 10(11): 59 – 74. (in Thai)

Pallab, K.G., S. Pradipta, M. Shanmugam and K.M. Tushar. 2013. Role of IAA metabolizing enzymes on production of IAA in root, nodule of Cajanus cajan and its PGP Rhizobium sp. Biocatalysis and Agricultural Biotechnology. 2: 234 – 239.

Suphan, S., P. Prajankett and S. Pongswat. 2016. Using nitrogen fixing bacteria with biological supporting media for promoting the plant growth. Sci. & Tech. RMUTT J. 6(2): 17 – 28.

Zhang, H., Y. Zhang and M. Wei. 2010. Comparative Analysis of Climatic Factors between Libo County and Strobilanthes cusia (Nees) O. Kuntze Growth. Medicinal Plant, 1(9): 9 – 11


    ISSN : 2821-9228 ( Print )
    ISSN : 2821-9244 ( Online )

    วารสาร

    1 ธันวาคม 2565

    220 ครั้ง

    25 ครั้ง

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน กม. 48 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
Email: afj@vru.ac.th    Line OA : https://lin.ee/nrN2wSH

   © COPYRIGHT Faculty of Agricultural Technology    

จำนวนผู้เข้าชม
วันนี้ : 7
ทั้งหมด : 38,304