:: Detail

คุณภาพสีและปริมาณเนื้อครามของพืชกลุ่มที่ให้สีครามในจังหวัดแพร่


ณัฐพร จันทร์ฉาย, พนัชพงษ์พรรณ ทะเกิงกุล, อัญศญา บุญประจวบ, ณัฐนรี นาระกันทา

ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรมเกษตร , มหาวิทยาลัยแม่โจ้–แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 54140

ไทย
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2565

การศึกษาคุณภาพสี และปริมาณเนื้อครามของพืชกลุ่มที่ให้สีครามในจังหวัดแพร่ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลผลิตผ้าย้อมครามให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยศึกษาตัวอย่างกลุ่มพืชที่ให้สีครามในพื้นที่ต่าง ๆ ในจังหวัดแพร่ ได้แก่ ห้อมใบใหญ่จากบ้านนาคูหา (Strobilanthes cusia) ห้อมใบใหญ่จากบ้านแม่ลัว (Strobilanthes cusia) ห้อมใบใหญ่จากบ้านนาตอง (Strobilanthes auriculata voucher.) ห้อมใบเล็กจากบ้านนาตอง (Baphicacanthus cusia voucher.) ห้อมใบใหญ่จากศูนย์วิจัยพืช (Strobilanthes cusia) ห้อมใบเล็กจากศูนย์วิจัยพืช (Strobilanthes auriculata) คราม (Indigofera tinctoria) จากบ้านป้าดำ และเบิก (Marsdenia tinctoria R. Br.) จากร้านแก้ววรรณา จากการศึกษา พบว่า ห้อมใบใหญ่จากบ้านนาตองให้ผลปริมาณเนื้อครามดีที่สุดเท่ากับ 8.9701 กรัมต่อใบสด 100 กรัม ซึ่งการให้คุณภาพสีสารสกัดของพืชที่ให้สีครามในจังหวัดแพร่นั้น พบว่า ห้อม Strobilanthes cusia จากบ้านแม่ลัวให้ค่าคุณภาพสีดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของค่าความสว่าง (L*) เท่ากับ 59.70 มีค่าเฉลี่ยของค่าความเข้มสีเขียว (a*) เท่ากับ –5.29 และมีค่าเฉลี่ยของค่าความเข้มสีน้ำเงิน (b*) เท่ากับ –0.40 และเมื่อนำสีครามที่ได้จากธรรมชาติในแต่ละแหล่งมาเปรียบเทียบกับสีย้อมครามเคมี พบว่า สีที่ได้จากธรรมชาติให้ค่าคุณภาพสีดีกว่าสีย้อมครามจากเคมี

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เอกสารแนบ
ชื่อแฟ้มข้อมูล
ขนาดแฟ้มข้อมูล
ประเภทเอกสาร
ดาวน์โหลด
AFJ-r2565-2-004353.77 KBapplication/pdf
AFJ-Vol1-No-22.40 MBapplication/pdf.....

Chai-ai, P. 2013. Research and Development on Production Technology of Pennywort (Centella asiatica L.) (Research report). Phare, Phare Agricultural Research & Development center: 1. (in Thai)

Chai-ai, P. 2018. Research and Development on Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze Production in Phrae Province (Research report). Phare, Phare Agricultural Research & Development center: 2 - 60. (in Thai)

Chanayat, N. 2001. Development of Indigo Extraction for use in Natural Dyes. MS Thesis, Chiang Mai University, Chiang Mai. (in Thai)

Othong, S. and B. Buakhawn. 2013. Local Wisdom Innovation in Cultural Heritage of Development of Starter Culture for Fermenting Indigo Blue Indigofera tinctoria and Indigo Dye Storage for Dying Process (Research report). SongKla, Thaksin University: 14 – 15. (in Thai)

Takengkul, P. 2018. Environmental Factors For Hom’s Production Quality. BS Thesis, Maejo University Phrae Campus. Phrae. (in Thai)

Teangium, A., S. Teanglum and A. Saithong. 2012. Selection of Indigo Plant Varieties and Other Plants that Yield Indigo Dye. Procedia Engineering, 32: 184 - 190.


    ISSN : 2821-9228 ( Print )
    ISSN : 2821-9244 ( Online )

    วารสาร

    1 ธันวาคม 2565

    226 ครั้ง

    24 ครั้ง

วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน กม. 48 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
Email: afj@vru.ac.th    Line OA : https://lin.ee/nrN2wSH

   © COPYRIGHT Faculty of Agricultural Technology    

จำนวนผู้เข้าชม
วันนี้ : 13
ทั้งหมด : 38,313